💥💥ครั้งแรกในภาคเหนือ กับงานแถลงข่าวมิติใหม่ Virtual Press Conference “Northern Digital Economy” โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้าน Digital Economy ภาคเหนือ
📌 วันที่ 25 มิถุนายน 2563
📌 เวลา 09.00 – 12.00 น.
📌 ณ ห้อง 112 ชั้น 1 วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
__(1) นายวิรุฬ พรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ทางจังหวัดเชียงใหม่มีนโยบายในการ พัฒนาเมืองให้ไปสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ (Smart City) นอกเหนือจากเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลแล้ว ทรัพยากรมนุษย์ และความเข้าใจในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลก็มีความสําคัญอย่างมากในการพัฒนาเมืองและ ประเทศให้ก้าวไปสู่สามาร์ทซิตี้ (smart city) และดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand)
___(2) ซึ่งในภาคส่วนของมหาวิทยาลัยนั้น ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เปิดเผยว่า ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เอง ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญของ กระบวนการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาเปิดโอกาสในการเพิ่มพูนองค์ความรู้ และการลงมือปฏิบัติงานจริง การใช้เครื่องมือดิจิทัลให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุด เพื่อการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวในยุคการขับเคลื่อนทาง เทคโนโลยี (Digital Transformation) ซึ่งในโครงการนี้ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยใน พื้นที่ภาคเหนือจํานวน 12 มหาวิทยาลัย เพื่อบ่มเพาะบัณฑิตด้านดิจิทัลจํานวน 2,000 คน เพื่อรองรับการ เติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในพื้นที่ภาคเหนือ
____(3) นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่ ลําพูน ลําปาง แม่ฮ่องสอน) กล่าวว่า ในโครงการ Northern Digital Economy นี้ ทางหอการค้า กลุ่มจังหวัดฯ มีความยินดีที่จะเป็นหน่วยงานประสานความร่วมมือในหอการค้า 17 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อ พัฒนาผู้ประกอบการทั้ง SMEs และ OTOP จํานวน 3,000 ราย เพื่อให้กระตุ้นการรับรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการนําเอาเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจ รวมถึงการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ เพื่อ ร่วมกันบ่มเพาะนักศึกษา และสนับสนุนผู้ประกอบการในการแสดงสินค้าในงานหอการค้าแฟร์ ที่จะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน – 6 ธันวาคม 2563 นี้ ทางหอการค้าไทย มั่นใจว่าโครงการนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจ ในพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
___(4)โดยนายพัลลภ แซ่จิว กรรมการ รองประธานหอการค้า จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึง หอการค้าจังหวัด เชียงใหม่ จะสนับสนุนกิจกรรมการอบรมสัมมนา และการบ่มเพาะเชิงลึกเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ ร่วมกับ สถาบันการศึกษาในจังหวัด และผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลในโครงการ และร่วมคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นผู้ประกอบการนําร่องจํานวน 100 ราย เพื่อร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น IoT (ไอโอที), Big Data, AI (เอไอ), Automation, Smart Farming , Delivery และ E-Commerce เป็นต้น
___(5) ส่วนด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการเชิญชวนกลุ่มผู้ประกอบการด้าน Digital Economy ผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP ภาคเหนือ รวมถึงผู้ประกอบการใหม่ Startup ใน 17 จังหวัดภาคเหนือจํานวน 5,000 รายเข้าร่วม โครงการ พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้าน Digital Economy ภาคเหนือ โดยจะเริ่มกิจกรรมการอบรม สัมมนาจาก 3 หลักสูตร ประกอบด้วย หลักสูตร Digital Commerce หลักสูตร Digital Transformation และ หลักสูตร Digital Consumption จากนั้นจะมีการคัดเลือกผู้ประกอบการ ที่มีศักยภาพเข้าร่วมอบรมเชิง ปฏิบัติการบ่มเพาะหลักสูตร จํานวน 100 สถานประกอบการ เพื่อจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการ กลุ่ม นักศึกษา และ Digital Service Provider เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และการตลาดด้วย
เทคโนโลยีสารสนเทศ จากนั้นผลักดันต่อยอดธุรกิจ เพื่อไปแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้า ซึ่งทั้งหมดนี้ ทั้ง ผู้ประกอบการ กลุ่มน้อง ๆ นักศึกษาที่เข้าร่วมจะไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัคร และอยากให้เชิญชวน กลุ่ม ผู้ประกอบการ กลุ่มนักศึกษา และ Startup ที่สนใจใจเข้าร่วมโครงการเพื่อเตรียมความพร้อมในการต่อยอดธุรกิจ และติดตามรายละเอียดโครงการได้ที่ Facebook: NDEOfficial2020 และ www.nde.in.th